เชอร์โนบิล, ประเทศยูเครน – ในเช้าของฤดูใบไม้ร่วงที่มืดครึ้ม กลุ่มนักท่องเที่ยวในทริปสุดพิเศษได้เดินทางมาถึงเชอร์โนบิล เมืองที่ยังคงทิ้งร่องรอยของความเสียหายจากการระบิดของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 แม้เวลาจะผ่านไปนานนับสามทศวรรษแต่ความทรงจำอันเลวร้ายยังคงไม่จางหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์
ตรงทางเข้าปรากฏร่างเล็ก ๆ ของสุนัขล่าเนื้อขนสีน้ำตาลแดง หน้าอกสีขาวสะอาด กำลังนั่งหูตก อยู่ตรงป้าย “ยินดีต้อนรับสู่เชอร์โนบิล” แม้จะเผยรอยยิ้มออกมาเล็ก ๆ แต่แววตาของมันกลับเศร้าจนน่าใจหาย ส่วนกลุ่มนักท่องเที่ยวเองก็ไม่รอช้า พวกเขาค่อย ๆ คว้ากล้องออกมาถ่ายรูปสุนัขเจ้าบ้านเก็บไว้เป็นที่ระลึกอย่างพร้อมเพรียง
“เพื่อน อย่าแตะมันเลยเดี๋ยวจะอ้วกเอานะ” นักศึกษาชาวอเมริกันกล่าวกับเพื่อนร่วมทริปพลางส่งเสียงหัวเราะ “เราเพิ่งจะเซ็นยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปเอง”
“ฉันรู้สึกเหมือนอยากจะร้องไห้” หญิงสาววัย 20 ปี ในชุดเดินป่ากล่าวขึ้นมา เมื่อเห็นสุนัขเจ้าบ้านกำลังค่อย ๆ ดันหัวของมันมาที่ขาเพื่อนของเธออย่างช้า ๆ หวังจะได้รับความรักจากกลุ่มคนแปลกหน้า แม้จะได้รับคำเตือนจากเพื่อนร่วมทริป แต่เพื่อนของเธอกลับก้มไปลูบหัวของสุนัขขี้เหงาตัวนี้ทันที และขณะที่เขากำลังลูบหัวของมันอย่างเพลิน ๆ สุนัขเจ้าบ้านก็กระโจนออกไปในป่าข้างทางทันที หายตัวไปดื้อ ๆ เสียอย่างนั้น…
สุนัขหลายร้อยตัวอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ยกเว้น ซึ่งพื้นที่ตรงนี้มีรัศมีครอบคลุม 30 กิโลเมตรรอบเมืองเชอร์โนบิลทางตอนเหนือของประเทศยูเครน นี่คือผลผลิตของ (อดีต) สัตว์เลี้ยงที่ถูกทิ้งไว้ในปี ค.ศ. 1986 เนื่องจากอุบัติเหตุจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 ระเบิดทำให้ผู้คนจำนวนมากกว่า 100,000 ราย ต้องรีบอพยพออกจากเมืองอย่างเร่งด่วน โดยไม่ทันได้อุ้มเพื่อนสี่ขาตามไปด้วย
หลังจากเหตุการณ์อันเลวร้ายครั้งนั้น ทหารโซเวียตได้พยายามเข้ามาควบคุมการแพร่พันธุ์ของสัตว์เลี้ยงในเมือง เพื่อลดการแพร่กระจายของกัมมันตภาพรังสี แต่ดูเหมือนว่าการเข้ามาจัดการจะยังไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร เพราะสุนัขที่หลงเหลืออยู่ในเมืองยังคงมีจำนวนมหาศาลอยู่ดี
เป็นเวลากว่าสามทศวรรษแล้วที่ภัยคุกคามครั้งใหญ่ของสุนัขจรจัดพวกนี้คือ การเอาชีวิตรอดในสภาพแวดล้อมที่มีอาหารจำกัด สัตว์ป่า โรคภัย และความหนาวเหน็บในฤดูหนาวของยูเครน ส่วนกัมมันตภาพรังสีที่แผ่กระจายอยู่ทั่วทั้งเมืองนั้นกลับไม่ใช่สิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตของพวกมันแต่อย่างใด เพราะท้ายที่สุดแล้วด้วยปริมาณรังสีที่หลงเหลือและตกค้างอยู่ในร่างกายจะทำให้พวกมันมีอายุขัยสั้นลงเหลือเพียง 4-5 ปีเท่านั้น
เมื่อคุณย่างเท้าเข้ามาที่แห่งนี้ คุณจะเห็นว่าการจัดการปัญหาสุนัขจรจัดในเมืองไม่มีระบบการจัดการที่ชัดเจน ทุกอย่างเละเทะไปหมด ขณะที่ ในปี ค.ศ. 2013 จำนวนสุนัขจรจัดเพิ่มขึ้นมากถึง 1,000 ตัว แม้ว่าคนงานที่ดูแลโลงศพหิน ซึ่งเป็นโลงหินขนาดใหญ่ทำจากจากเหล็กและปูน ครอบพื้นที่เครื่องเตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้าเอาไว้ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของกัมมันตรังสี
แม้ว่าชาวบ้านในพื้นที่จะเข้ามาให้อาหารแก่สุนัขจรจัดพวกนี้อยู่บ้างเป็นครั้งคราว แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากสุนัขจรจัดมีจำนวนมากเกินไป ทำให้พวกมันได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ อีกทั้งยังมีปัญหาการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าเข้ามาอีกต่างหาก
Photo Credit: cleanfutures.org Photo Credit: cleanfutures.org
ขณะที่ Lucas Hixson และ Erik Kambarian ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรอิสระ Clean Futures Fund ในสหรัฐฯ ก็ได้รับคำขอร้องจากคนในพื้นที่ให้องค์กรของพวกเขาช่วยเข้ามาดูแลสุนัขและควบคุมจำนวนด้วยวิธีการที่มีมนุษยธรรม จึงเกิดเป็นความร่วมมือขึ้นมาระหว่าง Clean Futures Fundและ SPCA International (SPCAI) ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลเกี่ยวกับการช่วยเหลือสัตว์
ในปี ค.ศ. 2017 โครงการ Dogs of Chernobyl จึงได้เกิดขึ้น โดยเป้าหมายของโครงการคือ การฉีดวัคซีนและทำหมันสุนัขอย่างน้อย 70% ภายในสามปี ซึ่งประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดีในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 2019
“แม้ว่าคุณจะฉีดวัคซีนให้สุนัขจนครบ 1,000 ตัวในปีแรก แต่ปีต่อมาจำนวนสุนัขจรจัดก็อาจจะเพิ่มขึ้นอีก 200 หรือ 300 ตัว ซึ่งก็ต้องเข้ามาฉีดวัคซีนใหม่อีกครั้งในปีถัดไป” Hixson กล่าว “นี่คือเหตุผลว่าทำไมการทำหมันจึงกลายมาเป็นขั้นตอนสำคัญของการควบคุมจำนวนประชากรสุนัขจรจัด อีกทั้งยังเป็นทางเลือกที่มีมนุษยธรรมอีกด้วย”
ขณะที่ ดร. Jennifer Betz ผู้อำนวยการด้านสัตวแพทยศาสตร์ของโครงการ Dogs of Chernobyl ได้กล่าวถึงความท้าทายที่เธอต้องเผชิญระหว่างการเข้ามาตรวจร่างกายของสุนัขจรจัดว่า มันไม่ใช่แค่ความกลัวเท่านั้นที่เธอต้องเผชิญ แต่กัมมันตภาพรังสีที่ยังคงแผ่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ทำให้เธอต้องคอยระวังเป็นพิเศษ ซึ่งรังสีส่วนใหญ่มักตกค้างอยู่ในขนของสุนัข และโดยปกติแล้วจะต้องล้างออกด้วยสบู่และน้ำเปล่า ดร. Betz กล่าว
แน่นอนว่าสิ่งที่เราทำมันไม่ได้ราบรื่นไปเสียทั้งหมด เนื่องจากสุนัขจรจัดบางตัวก็ยอมให้คนเข้าใกล้ ขณะที่บางตัวไม่ยอมให้เราเข้าไปเฉียดด้วยซ้ำ แต่ปัญหาที่ทีมสัตวแพทย์ต้องเผชิญก็ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น เพราะชาวบ้านในพื้นที่และคนงานดูแลเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เองก็เกิดความสงสัยในงานที่พวกเขาทำในโครงการ Dogs of Chernobyl เนื่องจากทีมอาสาที่เข้ามามีทั้งชาวอเมริกันและชาวยูเครน
แน่นอนว่าสิ่งที่เราทำมันไม่ได้ราบรื่นไปเสียทั้งหมด เนื่องจากสุนัขจรจัดบางตัวก็ยอมให้คนเข้าใกล้ ขณะที่บางตัวไม่ยอมให้เราเข้าไปเฉียดด้วยซ้ำ แต่ปัญหาที่ทีมสัตวแพทย์ต้องเผชิญก็ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น เพราะชาวบ้านในพื้นที่และคนงานดูแลเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เองก็เกิดความสงสัยในงานที่พวกเขาทำในโครงการ Dogs of Chernobyl เนื่องจากทีมอาสาที่เข้ามามีทั้งชาวอเมริกันและชาวยูเครน
Photo Credit: SPCA International
Photo Credit: SPCA International Photo Credit: Sam Berkhead / MT
“คุณต้องพิสูจน์ตัวเองและแสดงให้เราเห็นว่าคุณเป็นองค์กรที่ถูกต้องตามกฎหมาย” Meredith Ayan จากองค์กรการกุศลเกี่ยวกับการช่วยเหลือสัตว์ SPCAI กล่าว “เพราะชาวบ้านเขาแคร์ชีวิตของสุนัขจรจัดพวกนี้จริง ๆ จึงไม่แปลกที่พวกเขาจะเกิดความเคลือบแคลงใจในการทำงานของพวกเขา”
ส่วนการทำงานของอาสาสมัครจากโครงการ Dogs of Chernobyl พวกเขาจะนำสุนัขจรจัดมาวัดระดับรังสี จากนั้นจึงนำมาทำหมันทั้งตัวผู้และตัวเมีย และฉีดวัคซีน หากตัวไหนต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษทีมอาสาก็จะเข้ามาดูแลจนกว่าพวกมันจะมีอาการดีขึ้น ซึ่งก่อนที่จะปล่อยพวกมันกลับไปยังเชอร์โนบิล พวกเขาจะทำสัญลักษณ์เป็นรอยสักเล็ก ๆ และติดแท็กสำหรับติดตามตัวที่หู เพื่อตรวจความเคลื่อนไหวของพวกมันได้ตลอดเวลา เนื่องจากพวกมันไม่ชอบอยู่รวมตัวกันเป็นฝูง โดยทีมอาสาเองก็เชื่อว่า พวกเขาจะสามารถลดจำนวนประชากรสุนัขจรจัดที่เกิดใหม่ให้เหลือศูนย์ได้ในไม่ช้า Betz กล่าว
“ไม่ว่าที่ไหนบนโลก ผมก็พบว่าการทำหมันสัตว์ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการจัดการ ซึ่งการทำแบบนั้นในสถานที่ที่มีปริมาณกัมมันตภาพรังสีมากที่สุดในโลกดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้เลย” Lori Kalef จาก SPCAI กล่าว
Photo Credit: HBO miniseries Chernobyl Photo Credit: HBO miniseries Chernobyl
แต่เมื่ออันตรายจากรังสีลดปริมาณลง การท่องเที่ยวในเมืองเชอร์โนบิลก็เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งกระแสการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นนั้น มีขึ้นหลังจาก HBO ออนแอร์มินิซีรีส์ “Chernobyl” นักท่องเที่ยวจึงแห่กันจองทัวร์เข้าชมเมืองอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งบริษัททัวร์ที่ดูแลโปรแกรมการท่องเที่ยวในเขตต้องห้ามโดยเฉพาะ ได้เผยตัวเลขออกมาว่ามีการจองทัวร์เพิ่มขึ้นถึง 40% เมื่อเทียบกับในปีที่ผ่านมา
นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ระเบิดแต่อย่างใด ในทางกลับกันพวกเขากลับพุ่งความสนใจไปที่สุนัขจรจัด และความเป็นอยู่ของพวกมันมากกว่าการเที่ยวชมเมือง เพราะในมินิซีรี่ส์ของ HBO มีการพูดถึงการกำจัดสัตว์จรจัดแบบถอนรากถอนโคนของเจ้าหน้าที่จากสหภาพโซเวียต และเป็นตอนที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดตอนหนึ่งของเรื่องเลยก็ว่าได้
Photo Credit: cleanfutures.org Photo Credit: cleanfutures.org
“เรามีความสุขที่ได้เข้ามาเยือนที่นี่ แม้จะเป็นอะไรที่ไม่น่าพิสมัยนัก อีกทั้งไม่ใช่เรื่องง่ายในการทำใจที่จะดูมัน (เมืองเชอร์โนบิล) ซึ่งผมหมายถึงสุนัขที่ถูกทิ้งเอาไว้พวกนี้ด้วย” Ayan กล่าว “ผมมั่นใจว่าการพูดถึงการกำจัดสุนัขในมินิซีรี่ส์จะเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มความตระหนักให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างแน่นอน”
ในปี ค.ศ. 2018 โครงการ Dogs of Chernobyl สามารถโน้มน้าวให้รัฐบาลยูเครนอนุญาตให้นำสุนัขที่ถูกทิ้งไว้ในแขตพื้นที่ต้องห้ามไปเลี้ยงในอเมริกาเหนือได้ แต่ต้องเป็นสุนัขที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปีเท่านั้น จึงจะสามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ ขณะเดียวกันทีมอาสาจะต้องพิสูจน์ให้ทางรัฐบาลยูเครนเห็นว่า สุนัขที่จะถูกรับอุปการะจะต้องไม่มีรังสีตกค้างอยู่ในร่างกาย
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2019 ลูกสุนัขจากเชอร์โนบิลก็ได้รับการอุปการะจาก Jackie Mahler และตั้งชื่อว่า “ไอโซโทป” ซึ่งเธอได้เผยว่าไอโซโทปเป็น “สุนัขที่น่ารักที่สุดเท่าที่ฉันเคยพบมา” ปัจจุบันไอโซโทปและเจ้าของอาศัยอยู่ในวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา
“ฉันเคยไปเขตพื้นที่ยกเว้นในยูเครนเมื่อปีที่ผ่านมา และฉันก็ตกหลุมรักสุนัขที่นั่นเข้าอย่างจัง” เธอกล่าว “เมื่อฉันรู้ว่าฉันมีโอกาสที่จะรับอุปการะสุนัขจากเชอร์โนบิลได้ ฉันก็รู้เลยทันทีว่านี่คือ ‘โชคชะตา’ ของฉันที่ชักนำให้เจอเขา”
Photo Credit: cleanfutures.org
โดยเป้าหมายของโครงการในตอนนี้คือ การทำให้มั่นใจว่าสุนัขที่เหลืออยู่จะต้องได้รับสารอาหารและการดูแลทางการแพทย์อย่างดีที่สุด เพื่อให้พวกมันมีสุขภาพที่แข็งแรงและช่วยเติมเต็มช่วงเวลาที่ขาดหายไป ก่อนที่ทีมอาสาจะเข้ามาให้การช่วยเหลือ
แม้ว่าเป้าหมายแรกเริ่มของ Clean Futures Fund จะเป็นการเข้ามาดูแลผู้คนมากกว่าการดูแลสัตว์ที่หลงเหลืออยู่ในเขตพื้นที่ยกเว้น แต่ก็พบว่ามีผู้คนกว่า 3,500 ราย ยังคงต้องออกเดินทางมาทำงานในเขตพื้นที่ยกเว้นในทุก ๆ วัน อีกทั้งยังมีอีกหลายร้อยชีวิตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ และยังมีอีกหลายพันคนอาศัยอยู่บริเวณโดยรอบพื้นที่ปนเปื้อนอีกเช่นกัน
“เราได้รับคำสั่งให้เข้ามาช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การระเบิดของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์” Hixson กล่าว “ทีมของเราจึงได้ขยายเขตพื้นที่ให้การช่วยเหลือออกไปนอกเขตพื้นที่ต้องห้ามในรัศมี 30 กิโลเมตร เพื่อให้การช่วยเหลือชุมชนเป็นไปได้อย่างครอบคลุม”
ขณะที่ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้แก่สุนัขจรจัดดูเหมือนจะเป็นหน้าที่ที่ท้าทายสำหรับทีมสัตวแพทย์เป็นอย่างมาก เพราะดูเหมือนว่านี่เป็นภัยคุกคามด้านความปลอดภัยรูปแบบหนึ่งสำหรับชาวบ้าน คนงาน และนักท่องเที่ยวในโซนนี้ Hixson กล่าว
“ยูเครนได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากรัสเซีย แต่หลังจากสงครามจบลง พวกเขาก็ไม่ได้รับวัคซีนล็อตใหม่มาเป็นเวลาหกปีแล้ว” เขากล่าวถึงสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างผู้แบ่งแยกดินแดนฝ่ายสนับสนุนรัสเซียและฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลยูเครนในสงครามดอนบัสส์ “หากใครสักคนถูกสุนัขที่อาจป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดเข้า มันไม่ได้จบเพียงเท่านั้น เพราะปัญหาใหญ่กำลังตามมา” Hixson กล่าว
จากการเข้ามาของทีมอาสาสมัคร ทำให้สุขภาวะทางอารมณ์ของคนในชุมชนที่อาศัยอยู่ทั้งในและนอกเขตพื้นที่ต้องห้าม มีความสุขเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 เป็นต้นมา มีสัตว์หลายร้อยตัวถูกกำจัดทิ้งอย่างไร้ความปราณี ซึ่งคนในพื้นที่ไม่อยากเจอเหตุการณ์แบบนี้อีก
ด้าน Lucas Hixson ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรอิสระ Clean Futures Fund กล่าวว่า เขามีความสุขมากที่ได้เข้ามาทำหน้าที่ในการควบคุมจำนวนประชากรสัตว์อย่างมีมนุษยธรรม ซึ่งเขาเองก็ได้รับเลี้ยงสุนัขจากเชอร์โนบิลเองเช่นกัน และได้ตั้งชื่อว่า “Dvaa” ในภาษายูเครนแปลว่า สอง เพราะว่าเธอเป็นสุนัขตัวที่สองที่ได้รับการรักษาที่ศูนย์ตรวจวินิจฉัยทางการสัตวแพทย์จากโครงการ Dogs of Chernobyl
“เธอต่างหากที่เลือกผม” เขากล่าวปิดท้าย
ที่มา
- เรื่องโดย Samantha Berkhead. www.themoscowtimes.com