Kindcycle

เมืองรีไซเคิล: การออกแบบหมุนเวียน (Circular Design) สร้างชีวิตคนเมืองได้อย่างไร?


“การรีไซเคิล” เป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบที่ยั่งยืนมาเนิ่นนานแล้ว ถือเป็นเรื่องปัจเจกที่ประสบความสำเร็จในระดับจุลภาค ซึ่งแต่ละคนสามารถช่วยกันลดปริมาณขยะและอนุรักษ์พลังงานได้ แต่ในช่วงระหว่างการขาดแคลนทรัพยากรนี้ การสูญเสียที่อยู่อาศัยทางสิ่งแวดล้อมและวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลก มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติในชีวิตประจำวันไปสู่การคิดแบบหมุนเวียน (Circular thinking) มากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ความจำเป็นในการดำรงชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิต การย่อยสลาย และการรีไซเคิลอย่างต่อเนื่อง โดยที่ของเสียจะกลับกลายมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตอีกครั้ง

แนวคิด “Circular Design” หรือ “การออกแบบหมุนเวียน” ได้รับแรงบันดาลใจจากกระบวนการควบคุมและบริหารจัดการด้วยตนเอง โดยพิจารณาทั้งเวลาและวงจรชีวิตทั้งหมด หากมองไปไกลกว่าแบบจำลองการแยกขยะในปัจจุบัน แนวทางแบบหมุนเวียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดนิยามใหม่ของการเติบโต โดยค่อย ๆ แยกกิจกรรมทางเศรษฐกิจออกจากการใช้ทรัพยากรที่จำกัด และออกแบบโดยนำของเสียออกจากระบบ และให้ศูนย์กลางการหมุนเวียนอยู่ที่การเดินทางของขยะและมลพิษ โดยใช้ผลิตภัณฑ์และวัสดุที่ให้นานที่สุด ถือเป็นการปฏิรูปตามธรรมชาติ

การออกแบบหมุนเวียน สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการสร้างสถาปัตยกรรมได้ ตามที่ Eduardo Souza สถาปนิกและนักวางผังเมือง ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “ทรัพยากรจำนวนมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ น้ำ และพลังงาน ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการแปรรูป ใช้เพื่อการทำงาน และถูกจำกัดอายุการใช้งานของอาคาร” การออกแบบหมุนเวียนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรและอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนลดหรือยุติการสร้างขยะ และแนวคิดเหล่านี้ได้ถูกนำไปใช้แล้วในโครงการ “เมืองปลอดขยะ” (Zero Waste Urban) โดยริเริ่มแล้วในหลายประเทศทั่วโลก

The New Raw ได้เปิดตัว “Zero Waste Lab” ในเทสซาโลนิกิ (Thessaloniki) ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่ชาวกรีกสามารถนำขยะพลาสติกมารีไซเคิลเป็นเฟอร์นิเจอร์ในเมืองได้ ส่วนหนึ่งของโครงการ Print Your City นี้ จะใช้แขนของหุ่นยนต์ และการรีไซเคิล เพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่ทำขึ้นเอง เพื่อปิดวงจรขยะพลาสติก ความคิดริเริ่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ชิ้นส่วนจากผลิตภัณฑ์รีไซเคิลในการออกแบบพื้นที่สาธารณะภายในเมืองใหม่



แนวคิดเหล่านี้นำมาประยุกต์ใช้กับการเปลี่ยนแปลงของเมืองตลอดเวลา อย่างเช่นเมืองคิรุนา (Kiruna) ของสวีเดนที่อยู่ห่างจาก Arctic Circle ไปทางทิศเหนือ 95 ไมล์ ซึ่งบนยอดเขาเป็นที่ตั้งของเหมืองแร่เหล็กที่ใหญ่ที่สุดในโลกชื่อ “เหมืองคิรุนา” หนึ่งศตวรรษของการทำเหมืองนี้ได้เริ่มทำให้พื้นที่รอบ ๆ เมืองไม่มั่นคง พื้นดินแตกกระจายเป็นร่องลึกและตกลงไปในหลุมยุบ – ภายในศตวรรษนี้ รอยแยกเหล่านี้ได้คุกคามและกลืนกินพื้นที่เมืองไปอย่างช้า ๆ

เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามนี้ บริษัทเหมืองแร่ Luossavaara-Kiirunavaara (LKAB)  เสนอวิธีแก้ปัญหาโดยตรงคือ การเคลื่อนย้ายเหมืองคิรุนาไปทางทิศตะวันออก 3 กิโลเมตร ในแง่หนึ่งคือการได้รีไซเคิลเมืองไปด้วย นอกจากนี้หอประชุมเมืองของคิรุนาซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกชาวสวีเดน Arthur von Schmalensee และ Henning Larsen โดยผสมผสานกับหอระฆังอันเป็นสัญลักษณ์ของปี ค.ศ. 1958 ซึ่งไม่เพียงแค่แสดงให้เห็นถึงภาพสะท้อนตัวตนของเมืองคิรุนาเท่านั้น แต่ยังมีความต่อเนื่องทางกายภาพของประวัติศาสตร์เมืองอีกด้วย


นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของ เมืองบาร์เซโลนา (Barcelona) ซึ่งพื้นที่ในเมืองมีลักษณะเดียวกันคือ เป็นบล็อกซ้ำ ๆ กัน แสดงให้เห็นถึงเมืองที่ทึบ ผสมผสาน และมีความหนาแน่นสูง พร้อมด้วยพื้นที่สาธารณะที่รวมเข้าด้วยกัน ซึ่งตอนนี้จำเป็นต้องจัดผังเมืองใหม่และรีไซเคิลตัวเอง เพื่อให้เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ทั้งนี้ Leku Studio ได้นำเสนอโครงการ Superblocks ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เห็นถึงความพยายามอย่างสูงที่จะเปลี่ยนแปลงเมืองย่าน Sant Antoni ซึ่งได้รับการออกแบบโครงข่ายเมืองที่สามารถรวมเข้าด้วยกันได้ง่าย ก่อให้เกิดวิถีการปรับตัว และแนวทางการสร้างเมืองแบบหมุนเวียน


Balfour Beatty  บริษัทโครงสร้างพื้นฐานข้ามชาติของอังกฤษ ได้ตีพิมพ์ในรายงานเรื่อง นวัตกรรมปี ค.ศ. 2050 โดยพิจารณาถึงแนวโน้มที่โตขึ้นของการออกแบบหมุนเวียน และวิธีการนำไปใช้ในการก่อสร้าง รายงานอุตสาหกรรมได้กลายเป็นข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับวิวัฒนาการการปลูกสร้างและสรุปว่า

“Internet of Things จะขับเคลื่อนอาคารอัจฉริยะ ด้วยวัสดุใหม่ที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ สร้างพลังงานได้ หรือใช้วัสดุระบายอากาศได้ ในเมืองอัจฉริยะซึ่งสามารถจำลองเมืองอนาคที่ปรับให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ทันที ด้วยงานพิมพ์ 4 มิติ ที่วัตถุสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ โดยตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับความร้อน เสียง หรือความชื้น เพื่อเปลี่ยนรูปร่าง” โครงสร้างและวัสดุที่ปรับเปลี่ยนได้นั้นตอบสนองการสร้างแบบจำลองเมือง และงานพิมพ์ 4 มิติ คือตัวอย่างที่เชื่อมโยงกับแนวคิดแบบหมุนเวียนและการสร้างเมืองแบบบูรณาการ

“การออกแบบหมุนเวียน” คือการสร้างและรื้อสร้างสถาปัตยกรรม หรือการสร้างสุขภาพของเมืองทั้งหมดขึ้นมาใหม่ แนวคิดนี้ตระหนักถึงความสำคัญของการออกแบบที่จำเป็นต้องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกระดับ – ทั้งบุคคล องค์กร ชุมชนในประเทศ และระดับโลก เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่สร้างความยืดหยุ่นในระยะยาว เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม 

การเคลื่อนไหวนี้ก่อให้เกิดความคิดใหม่เกี่ยวกับการลดทอนการใช้วัสดุตามความเป็นจริง ความโปร่งใสที่ตรวจสอบได้ และการขับเคลื่อนความคิดเห็นด้วยสติปัญญาในวิถีชีวิตแบบเมือง สำหรับการพิจารณาการรีไซเคิลและผลกระทบของเมือง เมืองในอนาคตจะหันมาใช้การออกแบบแบบหมุนเวียนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อแก้ปัญหาอันเร่งด่วนในยุคของเรา


ที่มา


เรื่องโดย