Kind Academy

วช. เตรียมจัด มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ในรูปแบบ New Normal


วช. พร้อมเปิดงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ (Thailand Research Expo 2020) ครั้งที่ 15 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” โดยในปีนี้จะเป็นการจัดงานในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ “New Normal” พร้อมเปิดเวทีนำเสนอผลงานวิจัยที่มีศักยภาพกว่า 300 ผลงานจาก 5 กลุ่มหัวข้อวิจัย

ศ.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า การจัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นนี้ จะเป็นการจัดงานภายใต้วิถีชีวิตใหม่หรือ New Normal ที่ส่งผลให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต นำมาสู่วิถีชีวิตที่ต้องปรับตัวภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ในทุก ๆ ด้าน ภายในงานประกอบด้วย ภาคนิทรรศการ การประชุม สัมมนา และ กิจกรรม Highlight Stage ซึ่งเป็นการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่จะกลายมาเป็นกลไกสำคัญในการเข้ามามีบทบาทและพร้อมรับมือกับโรคโควิด-19 นอกจากนั้นยังมุ่งเน้นเชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในมิติเชิงวิชาการ นโยบาย สังคม/ชุมชน และพาณิชย์/อุตสาหกรรม เพื่อให้ได้ผลวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ในทุกประเด็นปัญหา 

ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มวิจัย ได้แก่ 1. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ 2. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม 3. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน 4. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ และ 5. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อน BCG Economy Model

พร้อมเปิดตัว “อั้ม อธิชาติ ชุมนานนท์” ทูตวิจัยคนแรกของประเทศไทยประจำปี 2563 และในปีนี้ยังมี MASCOT “น้องแกล้งดิน” ได้แนวความคิดจากการที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำรัสหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “ทฤษฎีแกล้งดิน” ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริ 

ในปีนี้มีงานวิจัยกว่า 300 ผลงาน อาทิ งานวิจัยที่การพัฒนาชุด PPE Coverall รุ่น “เราชนะ” สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการป้องกันขณะเผชิญไวรัสโควิด-19 เจลพอกหน้า สารสกัดจากข้าวหอมมะลิแดง หุ่นยนต์เก็บขยะจากผิวน้ำ การออกแบบบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้ง การแก้ปัญหาช้างป่าในประเทศไทย โครงการเภสัชอาสาพาชุมชนยั่งยืน อาหารและเครื่องดื่มหมักจากข้าวมอลต์แดง เป็นต้น

อีกทั้งยังปรากฎผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่ในยุคโควิด-19 อาทิ งานวิจัยจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลงานชุด PPE และมาตรฐานผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ งานวิจัยจาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผลงาน Covid 19 Genstrip test งานวิจัยจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผลงานมดบริรักษ์ หรือกำแพงต้นไม้บำบัดมลพิษ งานวิจัยจาก สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ผลงานนวัตกรรมสเปรย์เคลือบผิวหน้ากากผ้าสำหรับป้องกันไวรัสฃ



ในปีนี้มีงานวิจัยกว่า 300 ผลงาน อาทิ งานวิจัยที่การพัฒนาชุด PPE Coverall รุ่น “เราชนะ” สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการป้องกันขณะเผชิญไวรัสโควิด-19


นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่น ๆ ที่น่าสนใจ อาทิ ผ้าใยกล้วยบัวหลวง ผ้าประจำ จ.ปทุมธานี เครื่องสูบน้ำพลังเซลล์แสงอาทิตย์ ผลงานจากฟางข้าวสู่ผลิตภัณฑ์ย่อยสลาย และกิจกรรมนำเสนอบทความงานวิจัยกว่า 100 ผลงาน กิจกรรมมอบรางวัล Thailand Research Expo 2020 ให้แก่หน่วยงานที่นำเสนอนิทรรศการงานวิจัยได้อย่างโดดเด่นและผลงานวิจัยมีคุณภาพ

จากสถานการณ์โควิด-19 จึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการคัดกรองผู้เข้าร่วมงานและนิทรรศการอย่างเข้มงวดตลอดช่วงเวลาการจัดงาน เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของทางกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถเลือกลงทะเบียนได้ทั้งแบบ Onsite คือ การเข้าร่วมสัมมนาและชมนิทรรศการ ณ สถานที่จัดงาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่จะจำกัดจำนวนผู้เข้าชมงาน จึงงดลงทะเบียนหน้างานและวอร์คอินในทุกกรณี และแบบ Online คือ การเข้าร่วมประชุมสัมมนาและชมนิทรรศการผ่านทางเว็บไซต์ www.researchexpo.nrct.go.th และ www.nrct.go.th โดยไม่จำกัดจำนวนผู้ลงทะเบียน


เรื่องโดย