Kindnovation

เมื่อ “เทคโนโลยี” เป็นตัวกลางสร้างความเท่าเทียมในสังคม


ในขณะที่ทั่วโลกกำลังดูท่าที โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าจะส่งผลให้ขั้วการเมืองโลกหันไปในทิศทางใด อีกทั้งทั่วโลกยังตกอยู่ในสภาวการณ์หยุดชะงักทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ หลายประเทศจึงต้องเริ่มคิดกลยุทธ์การรับมือวิกฤตดังกล่าวขึ้นมา โดยเริ่มจากการสร้างอุตสาหกรรมให้เข้มแข็ง บริษัทที่มั่นคง และประเทศใหม่ที่พร้อมฝ่าฟันวิกฤตในแต่ละระลอกไปได้

นอกจากโรคระบาด และทิศทางการเมืองโลกที่หลายประเทศเป็นกังวลแล้ว ความตึงเครียดทางเศรษฐกิจ วิกฤตที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ และเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ ยังเป็นสิ่งที่ภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหา โดยตัวกลางที่จะเข้ามาช่วยคลี่คลายปัญหาความขัดแย้ง หรือความไม่เท่าเทียมดังกล่าวคือ เทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวคงไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื้อรังที่เกิดขึ้นในสังคมลงไปได้ในพริบตา นักวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์จึงได้เข้าร่วมแก้ไขปัญหาที่ทั่วโลกเป็นกังวลนี้ด้วย

เพื่อให้เกิดการกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจและความยืดหยุ่นทางการเงิน ที่มาพร้อมกับความเท่าเทียมกันมากขึ้นในสังคม สิ่งสำคัญที่แต่ละประเทศต้องมีคือ “ประชาธิปไตย” เพื่อที่จะสร้าง “ความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้” หรือ Tech Intensity ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพของมนุษย์ในการทำงาน แม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่หลายคนคงหวั่นใจว่าจะมาแย่งงานของมนุษย์ในตลาดแรงงานก็ตาม แต่ Tech Intensity กลับเป็นกลยุทธ์ที่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟท์แนะนำให้องค์กรและบริษัททั่วโลกหันมาใช้งาน

ไมโครซอฟท์มองว่า เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมานั้น ไม่ได้เข้ามาแย่งงานมนุษย์แต่อย่างใด ในทางกลับกัน เทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยเพิ่มศักยภาพและเพิ่มทักษะของผู้ใช้งาน


รวมทั้งในกลุ่มนักพัฒนามือสมัครเล่น หรือ Citizen Developer ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เล่นที่อยู่นอกสายงานไอที สามารถพัฒนาโปรแกรมของตนเองได้ และธุรกิจขององค์กรก็พร้อมจะเติบโตขึ้นไปได้อีกขั้น

Tech Intensity ประกอบด้วย 3 มิติคือ ยกระดับการใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ไซเบอร์ซิเคียวริตี้-ความปลอดภัยข้อมูล และการพัฒนาทักษะดิจิทัล โดยผู้ใช้งานควรใช้เครื่องมือ เช่น ระบบการประมวลผล Cloud Computing และหน่วยจัดเก็บข้อมูลรูปแบบออนไลน์ที่ช่วยลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ และลดต้นทุนในการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไมโครซอฟท์ได้แนะนำเพิ่มเติมว่า การใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้ง ควรเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานรัฐและหน่วยงานเอกชนทั่วโลกสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานของตนได้

เศรษฐกิจ

ในอีกสิบปีข้างหน้า ภาคธุรกิจจะต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด หากแต่ละองค์กรมุ่งพัฒนาทักษะด้านไอทีแก่พนักงานทุกระดับ ก็จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เมื่อเป็นเช่นนี้ Tech Intensity จะกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิตของผู้คน ในไม่ช้าเทคโนโลยีจะถูกหลอมรวมให้กลายเป็นหนึ่งเดียวกับสังคม โดยผู้คนแต่ละยุคแต่ละสมัยไม่อาจปฏิเสธความก้าวล้ำนี้ได้

จากงานวิจัยที่จัดทำโดยไมโครซอฟท์ และคีย์สโตน ชี้ให้เห็นว่า บทบาทการลงทุนของนักธุรกิจจะไม่หยุดอยู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีเพียงด้านเดียว แต่ยังรวมถึงการสร้างสถาปัตยกรรมความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึง “โอกาส” ในการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำ รวมถึงอุปสรรคที่ทำให้การเข้าถึงเทคโนโลยีเป็นเรื่องยาก ผลการวิจัยได้เผยข้อมูลเพิ่มเติมว่า การพัฒนาขีดความสามารถถือเป็นสิ่งจำเป็นในการขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในสังคมแม้ว่าจะอยู่ในยุคสมัยแห่งความปั่นป่วน แต่การนำเทคโนโลยีมาเป็นผู้นำในการฝ่าฟันวิกฤตครั้งนี้ ได้แสดงผลลัพธ์ที่ดีกว่าการคาดการณ์ของนักวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์หลายคน ทำให้ต้องมองย้อนกลับมาว่า หรือจริง ๆ แล้ว

การนำพาองค์กรให้ขึ้นสู่อันดับต้น ๆ ของประเทศหรือของโลก หน่วยงานรัฐ เอกชน และทุกหน่วยของสังคม จะต้องเตรียมปรับตัวขนานใหญ่ในการก้าวเข้าสู่โลกแห่งนวัตกรรม


ปัจจัยข้างต้นไม่เพียงเรียกร้องให้ทุกหน่วยงานเร่งพัฒนาทักษะส่วนบุคคลของพนักงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดเตรียมสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจให้พร้อม เพื่อให้มั่นใจว่า อุปกรณ์เครื่องมือ ข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยี สามารถเข้าถึงผู้คนในทุกระดับของสังคมได้ โดยไม่มีอุปสรรคด้านภูมิศาสตร์มาขวางกั้น


การจะกล่าวว่าเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเป็นเรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น คงไม่ถูกเสียทีเดียว แม้ว่าเทคโนโลยีจะมีการพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดดในทุก ๆ วัน และความก้าวล้ำเหล่านี้ เป็นเพียงหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้เท่านั้น ไม่ใช่ความแปลกใหม่อย่างที่ใครหลายคนเข้าใจแต่

สิ่งที่สร้างความแปลกใหม่ให้เกิดขึ้นในสังคม ดูเหมือนจะเป็น ความเท่าเทียม ในการเข้าถึงเทคโนโลยีเสียมากกว่า หากทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยีได้ นี่แหละคือ ความแปลกใหม่ที่แท้จริง เพราะมันไม่เคยเกิดขึ้นจริงบนโลกใบนี้


นักพัฒนาซอฟท์แวร์มือสมัครเล่น

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ธุรกิจอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ได้เห็นความสำคัญของผู้เล่นหน้าใหม่ในวงการไอทีเพิ่มมากขึ้น นั่นคือ นักพัฒนามือสมัครเล่น ดังนั้นผู้ประกอบการหลายรายจึงหันมาเพิ่มขีดความสามารถให้แก่พวกเขา แม้จะเป็นกลุ่มบุคคลที่ถูกตีกรอบเอาไว้แคบ ๆ ว่า เป็นผู้ที่มีอำนาจในการขับเคลื่อนนวัตกรรม จากข้อมูล เทคโนโลยี และเครื่องมือในระดับพื้นฐานเท่านั้น


อย่างไรก็ตามนักพัฒนามือสมัครเล่นเหล่านี้ ยังคงไม่สามารถแทนที่ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงในวงการไอทีได้ แต่การพัฒนาเทคโนโลยีระดับพื้นฐานจะช่วยส่งเสริมให้นักพัฒนาซอฟท์แวร์ทำงานได้ง่ายขึ้น โดยพวกเขาสามารถต่อยอดนวัตกรรมตั้งต้นเหล่านั้น และนำมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมขั้นสูง

นักพัฒนามือสมัครเล่น จึงกลายเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลต่อหลาย ๆ องค์กรทั่วโลก เพราะพวกเขาจะช่วยดึงศักยภาพของนักพัฒนาซอฟท์แวร์ให้ออกมาโลดเล่นสู่โลกภายนอก ดังนั้นทุกองค์กรควรผลิตนักพัฒนามือสมัครเล่นเอาไว้ เพื่อผลักดันองค์กรให้ก้าวขึ้นสู่ผู้นำทางด้านเทคโนโลยีในอนาคต

ขณะที่การสร้างโปรแกรม Excel และ Visual Studio ล้วนต้องอาศัยนักพัฒนาซอฟท์แวร์มืออาชีพในการพัฒนา แต่โปรแกรมเหล่านี้ ได้กลายเป็นสิ่งพื้นฐานที่นักพัฒนามือสมัครเล่นสามารถพัฒนามันขึ้นมาได้ด้วยตนเอง และการอยู่ในยุคที่ทุกคนมีอะไรก็โยนลงใน Cloud ด้วยแล้ว การพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ยิ่งเป็นสิ่งจำเป็นต้องทำ

ไม่ว่าจะเป็น “นักพัฒนาซอฟท์แวร์มืออาชีพ” หรือ “มือสมัครเล่น” พวกเขาล้วนต้องผ่านการฝึกฝนการผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาสู่ท้องตลาด ซึ่งหากองค์กรยังพึ่งพาทรัพยากรในการพัฒนาเทคโนโลยีแบบเก่า จะไม่ช่วยให้เราเดินนำหน้าผู้ประกอบการรายอื่นอีกต่อไป นี่คือสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องขบคิดอย่างหนัก เพื่อคว้าโอกาสมากมายที่ลอยคว้างอยู่ในตลาด

ทางไมโครซอฟท์และคีย์สโตนได้เผยอีกว่า งานวิจัยที่ดำเนินการในบริษัทชั้นนำกว่า 130 แห่ง แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่มีสถาปัตยกรรมทางเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์แบบบูรณาการจำนวนมาก สองปัจจัยข้างต้นจะช่วยผลักดันให้องค์กรมีประสิทธิภาพเหนือองค์กรอื่น อย่างในอุตสาหกรรมที่มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น อุตสาหกรรมสุขภาพ อุตสาหกรรมค้าปลีก และอุตสาหกรรมการให้บริการทางการเงิน บริษัทที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงจะมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยสองเท่า เมื่อเทียบกับองค์กรที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีในระดับต่ำ เนื่องจากบริษัทที่นำ Tech Intensity มาใช้ จะสามารถผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาสู่ท้องตลาดได้มากขึ้น

Diego Comin ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ที่วิทยาลัย Dartmouth นักวิจัยที่ศูนย์วิจัยนโยบายเศรษฐกิจและนักวิจัยของคณะในโครงการความผันผวนและการเติบโตทางเศรษฐกิจของสำนักวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ และ Bart Hobijn นักเศรษฐศาสตร์มหภาคประยุกต์ แผนกวิจัยทางเศรษฐกิจของธนาคารกลางซานฟรานซิสโกและนิวยอร์ก พวกเขาได้พัฒนาชุดข้อมูล Cross-Country Historical Adoption of Technology (CHAT) และได้ทำการตรวจสอบกรอบเวลา (Time Frame -TF) หรือเวลาที่กำหนดให้กราฟราคาแสดงในช่วงเวลานั้น ๆ จากทั้งหมด 161 ประเทศ พบว่า มีการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันถึง 104 ชนิด ตั้งแต่การใช้เครื่องจักรพลังงานไอน้ำไปจนถึงการใช้บริการพีซีเอส (บริการสื่อสารส่วนบุคคล – PCS)โดย Diego Comin ได้ระบุให้เห็นความแตกต่างระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและประเทศที่ยากจนว่า

ความเร็วของเทคโนโลยีอุตสาหกรรมคือ ตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือ ความเท่าเทียม ในการเข้าถึงเทคโนโลยีของประเทศนั้น ๆ


โดยเขากล่าวว่า การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนาประเทศ ย่อมเป็นการดีกว่าการใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัย แม้ว่าพวกเขาจะไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีดังกล่าว แต่เทคโนโลยีใหม่จะทำให้พวกเขาค่อย ๆ พัฒนาขึ้นอย่างช้า ๆ และสามารถก้าวทันประเทศร่ำรวยได้ในที่สุด


แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาต้องตระหนักคือ ประชาชนในประเทศต้องสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี และได้รับการอบรมการใช้งานเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง ซึ่ง Diego Comin ได้เสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า หรือจริง ๆ แล้วเทคโนโลยีมันเป็นอะไรที่ง่ายกว่านั้น ถ้าทุกอย่างสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม แล้วทุกคนก็พร้อมเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน แต่ท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้แก่ประเทศร่ำรวยและประเทศยากจนคือ Tech Intensity ซึ่งจะกลายเป็นตัวกลางในการเข้ามาทำลายชนชั้นทางสังคม

ขณะที่นักวิจัยคนอื่น ๆ Eric Brynjolfsson จากมหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด John Van Reenen จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) Jim Bessen จากมหาวิทยาลัยบอสตัน และ Shane Greenstein จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ค้นพบผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกันคือ การนำเทคโนโลยีมาใช้นั้นมีความสำคัญต่อการเติบโต และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานในองค์กร รวมถึงระบบเศรษฐกิจ

จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า เมื่อใดก็ตามที่เทคโนโลยีได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนสามารถแบ่งปันขีดความสามารถ ข้อมูล และข่าวสารที่สำคัญภายในองค์กร ก็จะช่วยให้นักพัฒนาซอฟท์แวร์ทุกคนไม่ว่าจะเป็น “มืออาชีพ” หรือ “มือสมัครเล่น” สามารถทำลายภาวะไซโลขององค์กร (Silo) ซึ่งเป็นภาวะที่พนักงานในบริษัทไม่ยอมแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือองค์ความรู้ระหว่างกัน ทำให้องค์กรพัฒนาได้ช้ากว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ หากสามารถทำลายภาวะไซโลลงไปได้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นมา จะก้าวข้ามขีดจำกัดแบบเดิม ๆ ที่เคยมีอยู่ โดยนักวิจัยกล่าวว่า การทิ้งหน่วยงานและชุมชนไว้ข้างหลังไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาพึงปรารถนา

โรคระบาด

การระบาดของโควิด-19 ได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของโลกอนาคตว่า เทคโนโลยีจะเป็นหนึ่งเดียวกับคนในสังคม หลาย ๆ องค์กร เช่น T-Mobile, Novartis, Kimberly Clark, Land O’Lakes และโรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์ เจนเนอร์รอล จึงเริ่มนำองค์กรเข้าสู่โลกยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกภาคส่วนธุรกิจ ตั้งแต่การวางรากฐาน เป้าหมาย ไปจนถึงการดำเนินธุรกิจและส่งต่อไปยังผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สร้างความท้าทายในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในสังคมคือ ภาคประชาชน โดยกระทรวงบริการมนุษย์ของรัฐบาลออสเตรเลีย (Australian Government Department of Human Services) ได้นำระบบผู้ช่วยเสมือน (Digital Assistant) มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งประชาชนสามารถพูดคุยหรือส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ มายังกระทรวงได้โดยตรง



ในปี ค.ศ. 2019 บริษัทวิจัย Gartner ได้ทำนายไว้ว่า บ้านเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้วกว่า 25% จะมีระบบ Connected Home ที่สามารถสั่งการได้ผ่านระบบ Digital Assistant ได้ ซึ่งระบบจะทำการปรับแต่งและเรียนรู้สภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานแต่ละราย ทำให้เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถตอบโจทย์ผู้ใช้บริการได้อย่างดีที่สุด

ส่วนทางด้านภาคการศึกษา โรงเรียนรัฐบาลทาโคมา ในรัฐวอชิงตันได้นำ AI มาระบุแนวโน้มนักเรียนที่กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงสูงในการเลิกเรียนกลางคัน หรือถูกไล่ออกจากโรงเรียน โดยปัจจัยที่เพิ่มระดับความเสี่ยงนี้คือ การเป็นเด็กไร้บ้าน การตั้งครรภ์ ปัญหาสุขภาพและการเงิน ความรุนแรงในครอบครัว และปัญหาอื่น ๆ โดย AI จะวิเคราะห์แนวโน้มดังกล่าวของนักเรียนแต่ละราย ก่อนปัญหาดังกล่าวจะขยายตัวเป็นวงกว้างจนยากเกินจะแก้ไข

“ในปี ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา ได้สอนให้เรารู้ว่า พวกเขาสามารถสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม นี่คือหนทางในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า และไม่จำเป็นต้องมีเพียงสัญญาประชาคมชุดเดียวเท่านั้นที่ทำให้เราจินตนาการถึงอนาคตที่ดีกว่า แต่ต้องเป็นสัญญาประชาคมชุดใหม่ ที่พร้อมดึงศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ควบคู่กับการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยี โดยภาครัฐและเอกชนจะต้องไม่ลังเลที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเพียงด้านเดียว เพราะไม่เช่นนั้นความพยายามทั้งหมดจะสูญเปล่า” สัตยา นาเดลลา (Satya Nadella) CEO แห่งไมโครซอฟท์ กล่าว

พร้อมทั้งได้กล่าวสรุปปิดท้ายว่า หากภายในทศวรรษนี้ ภาครัฐและเอกชนไม่สามารถผลักดันเรื่องนี้ได้อย่างจริงจัง หลายประเทศทั่วโลกจะพบกับความล้มเหลวทางอุตสาหกรรมเทคโนโลยี หากการพัฒนาทั้งหมดถูกส่งตรงไปยังผู้ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว พร้อมเน้นย้ำว่า “สิ่งที่ประชาชนต้องการจริง ๆ คือ ‘ประชาธิปไตย’ และ ‘ความเท่าเทียม’ ในการเข้าถึงเทคโนโลยีของประชาชนในสังคม”


อ้างอิง


เรื่องโดย