“เราไม่เคยทิ้งเศษผ้า แต่เราหลอมรวมเป็นเสื้อผ้าใหม่”
เมื่อเราเริ่มตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวงการแฟชั่นที่กำลังเติบโต การปฏิวัติเล็ก ๆ จึงเกิดขึ้นใน “เมืองคิริว (Kiryu)” เมืองที่เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากโตเกียว ทั้งยังมีชื่อเสียงในด้านอุตสาหกรรมการทอผ้ากิโมโนแบบดั้งเดิม
Ripple Yohinten บริษัทเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ริมภูเขา ก่อตั้งโดยสองสามีภรรยาที่ชื่อว่า คุมิโกะ (Kumiko) และ ฮารุฮิโตะ อิวาโนะ (Haruhito Iwano) เมื่อ 15 ปีก่อน ที่นี่ทุกสิ่งทุกอย่างถูกตัดเย็บด้วยมือโดยช่างเย็บผ้าผู้มีความชำนาญ คุมิโกะเป็นคนออกแบบเสื้อผ้า ในขณะที่ฮารุฮิโตะเป็นคนย้อมสีผ้าด้วยมือ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสีที่ได้จากพืชและดอกไม้ โดยทุกชิ้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีรูปทรงและสีสันที่ไม่เหมือนใคร ทั้งนี้พวกเขาจะเปิดร้านเพียง 7 วันแรกของทุกเดือน โดยขายสิ่งที่พวกเขาสามารถทำเสร็จในเดือนที่แล้ว
Photo Credit: ripple yohinten/ japan.go.jp
การบอกเล่าปากต่อปากทำให้พวกเขาได้รับความสนใจจากผู้ชมทั่วประเทศ และพวกเขาได้มีโอกาสไปแสดงผลงานที่นิวยอร์กและปารีส แต่ทั้งคู่ยังคงยึดติดกับความเชื่อมั่นที่ว่า
“เราไม่เคยทิ้งเศษผ้า” คุมิโกะกล่าว “แต่เราหลอมรวมเป็นเสื้อผ้าใหม่ เราได้ทำสิ่งที่เรียกว่า ‘ยั่งยืน’ ในตอนนี้ ตั้งแต่แนวคิดนี้ยังไม่มีอยู่”
นอกจากนี้ ฮิโรชิ คิจิมะ (Hiroshi Kijima) ยังทำให้แฟชั่นมีความอ่อนโยนมากขึ้นบนโลกใบนี้ ผ่านเสื้อผ้าสำหรับผู้หญิงตามความต้องการของเขา “ฉันมาจากครอบครัวที่ทำโรงงานเย็บผ้า ฉันรู้สึกเสียใจมากที่เห็นเศษผ้าถูกโยนทิ้ง” คิจิมะกล่าว หลังจากทำงานให้กับ Comme des Garçons และ Aeon นักออกแบบวัย 44 ปีที่เริ่มต้นเปิดบริษัท Fukule ในปี ค.ศ. 2015 จากการทำงานตามคำสั่ง คิจิมะได้ผลิตเสื้อผ้าที่เขาออกแบบ ให้เหมาะกับขนาดและการเลือกผ้าของลูกค้า โดยร่วมมือกับเครือข่ายโรงงานขนาดเล็กในประเทศมากกว่า 60 แห่ง
Photo Credit: ripple yohinten/ japan.go.jp
Photo Credit: ripple yohinten/ japan.go.jp
“เราทำในสิ่งที่จำเป็น เมื่อจำเป็นเท่านั้น” เขากล่าว “การจัดตั้งบริษัทขนาดเล็กนี้มีความยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และประหยัดกว่า เราผลิตของเสียน้อยลงและปล่อยคาร์บอนต่ำลง” เขาเชื่อว่า คุณค่าของญี่ปุ่นคือการอยู่ในความยั่งยืนที่แท้จริง
“เพราะญี่ปุ่นมีวัฒนธรรม Mottainai (ความไม่สิ้นเปลือง) และมีจิตวิญญาณในการรักษาสิ่งต่าง ๆ มาอย่างช้านาน”
*วิธีการทอ: ความยั่งยืนที่แท้จริงอยู่ที่การสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ที่สามารถใช้ได้ในอีกหลายปีข้างหน้า ญี่ปุ่นนำหน้าเกมนี้ ซึ่งขับเคลื่อนโดยช่างฝีมือที่มีทักษะสูงในการผลิต และเมืองคิริวถือเป็นตัวอย่างที่ดีของสถานที่ที่ขนาดอาจจะเล็ก แต่รับประกันด้านคุณภาพ
แก้ไขวัฏจักรของแฟชั่น เมื่อฟาสต์แฟชั่น (Fast Fashion) ต้องลุกขึ้นมารับผิดชอบ
ตามที่ UN ระบุว่า แฟชั่นเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากน้ำมัน ทุก ๆ ปี ภาคธุรกิจนี้ใช้น้ำ 93 พันล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของคน 5 ล้านคน และไมโครไฟเบอร์ประมาณครึ่งล้านตัน จะถูกทิ้งลงในมหาสมุทร
ระหว่างปี ค.ศ. 2000-2014 การผลิตเสื้อผ้าทั่วโลกเพิ่มขึ้นสองเท่า ปัจจุบันผู้บริโภคโดยเฉลี่ยซื้อเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับ 15 ปีที่แล้ว และทิ้งอย่างรวดเร็วเป็นทวีคูณ ต่อไปนี้เป็นโครงการริเริ่มบางส่วนที่ช่วยให้ผู้บริโภคและผู้ผลิต สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในขั้นพื้นฐาน
Photo Credit: ripple yohinten/ japan.go.jp
1. บางแบรนด์สนับสนุนให้ลูกค้านำเสื้อผ้าเก่ามาที่ร้านของตน มีการบริจาคเสื้อผ้าที่สวมใส่ได้ ขณะที่ส่วนที่เหลือนำไปรีไซเคิลเป็นกระดาษและเชื้อเพลิงพลาสติกอื่น ๆ นอกจากนั้นคือ การนำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ เช่น ขวด PET และเส้นใยหนังสังเคราะห์
2. การบริโภคเป็นการตัดสินใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ผู้คนตัดสินใจอย่างมีสติทุกวัน เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงแหล่งที่มาของเสื้อผ้ามากขึ้น ฉลากบางรายการจึงเริ่มเปิดเผยที่มา การขนส่ง และผลกระทบของการตัดเย็บเสื้อผ้า เพื่อแจ้งข้อมูลให้ผู้ซื้อทราบได้ดีขึ้น
3. Sustainable Apparel Coalition เป็นความพยายามร่วมกันทั่วโลก สำหรับอุตสาหกรรมเสื้อผ้ารองเท้าและสิ่งทอ รวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น เช่น Asics ด้วยความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา รัฐบาล และองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อสร้างดัชนีและให้ความรู้สำหรับแบรนด์สมาชิกผู้ค้าปลีกและผู้ผลิตได้ปฏิบัติตาม เพื่อให้บรรลุการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และลดผลกระทบต่อสังคมรอบห่วงโซ่อุปทาน
ที่มา
- Rethinking the fashion cycle. www.japan.go.jp/sustainable_future