Kindvironment

รู้หรือไม่? อาหารที่คุณกินปล่อยคาร์บอนเท่าไหร่ แบรนด์ทั่วโลกเล็งติดฉลากแสดงผลกระทบโลกร้อน


ฉลากอาหารมีความสำคัญต่อการสื่อสารข้อมูลผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภค เพื่อบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้นดีหรือไม่ดีสำหรับผู้บริโภค แต่การระบุว่าดีหรือไม่ดีสำหรับโลกนั้นยังมีให้เห็นไม่มากนัก โดยปัจจุบันมีแบรนด์จำนวนมากเล็งเห็นถึงปัญหานี้ แล้วเริ่มหันมาติดฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อแสดงผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ

ฉลากสภาพภูมิอากาศสำคัญไฉน
□■

Felix บริษัทอาหารของสวีเดน เป็นหนึ่งในบริษัทที่เล็งเห็นถึงการผลิตที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม Felix ใช้เวลา 2 วันในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 เปิดร้านป๊อปอัพในสตอกโฮล์ม โดยสินค้าทั้งหมดตั้งราคาตามการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยิ่งปล่อยมลพิษมากเท่าไหร่ ราคาก็จะสูงขึ้นเท่านั้น


แนวคิดนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสภาพอากาศได้ง่ายเพียงใดเมื่อมีการติดฉลากสินค้าอย่างชัดเจน โดยลูกค้าแต่ละรายจะได้รับงบประมาณ “เทียบเท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” ในการจับจ่ายซื้อของภายในร้านค้า

ร้านค้าป๊อปอัพดังกล่าวเป็นความคิดริเริ่มสั้น ๆ ในการสร้างความตระหนักรู้ต่อผู้ซื้อและผู้ขาย แต่ Felix ทำมากกว่านั้น โดยแสดงรายการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับอาหารทั้งหมดบนเว็บไซต์ด้วย ตั้งแต่การเพาะปลูกวัตถุดิบไปจนถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ซึ่งผลิตภัณฑ์จะได้รับฉลาก “Low Weather Footprint” หากมีการปล่อยมลพิษไม่เกินครึ่งหนึ่งของค่าเฉลี่ยสำหรับอาหารในสวีเดน

โทมัส โจเบิร์ก ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของ Felix กล่าวว่า “สิ่งสำคัญคือการติดฉลากให้เข้าใจง่าย เรารู้ดีว่าตัวเลขเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอในการอธิบายต่อผู้บริโภค เพื่อให้ตัวเลขมีความหมายเราได้สร้างมาตรวัดสภาพภูมิอากาศที่แสดงค่าเฉลี่ยปัจจุบันอย่างชัดเจนและระบุว่าระดับภูมิอากาศใดอยู่ในระดับต่ำ”


ผลสำรวจความคิดเห็นที่จัดทำโดย Carbon Trust บริษัทรับรองคาร์บอนฟุตพรินท์ของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ พบว่า 2 ใน 3 ของผู้บริโภคในฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา สนับสนุนการติดฉลากคาร์บอนบนผลิตภัณฑ์  ซึ่งยังไม่มีรัฐบาลใดกำหนดให้การติดฉลากเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายตาม Carbon Trust

อย่างไรก็ตาม ฉลากสภาพภูมิอากาศ (Climate Labels) กำลังถูกถอดออกจากสินค้าต่าง ๆ แต่ Quorn แบรนด์ที่ผลิตเนื้อสัตว์ทดแทนได้เปิดตัวฉลากสภาพภูมิอากาศในผลิตภัณฑ์กว่า 60% ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเมื่อต้นปี ค.ศ. 2020 ส่วน Unilever ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มระดับโลก ได้กำหนดแผนการสื่อสารคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นที่จำหน่าย


มลพิษที่เกิดขึ้นวันนี้รอไม่ได้แล้ว!
□■

การประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์ที่แท้จริงของอาหารนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และแบรนด์ต่าง ๆ กำลังร่วมมือกับแพลตฟอร์มผู้เชี่ยวชาญที่รวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือการคำนวณที่ซับซ้อนเพื่อคำนวณการปล่อยมลพิษในห่วงโซ่การผลิตทั้งหมด

Oatly ผู้ผลิตอาหารที่ทำจากข้าวโอ๊ต คำนวณการปล่อยมลพิษของเครื่องดื่มที่ทำจากข้าวโอ๊ต ตั้งแต่กระบวนการทางการเกษตรไปจนถึงร้านค้าปลีก ด้วยความช่วยเหลือของ CarbonCloud บริษัทสตาร์ทอัพจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Chalmers ในสวีเดน

เดวิด ไบรน์เกลสัน CEO ของ CarbonCloud อธิบายว่า “เราได้พัฒนาเว็บแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ผู้ผลิตอาหารสามารถทำการประเมินสภาพภูมิอากาศโดยละเอียดได้ โดยที่พวกเขาไม่จำเป็นต้องเข้าใจวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ใด ๆ”


บริษัทต่าง ๆ เช่น Oatly ป้อนข้อมูลซึ่งรวมถึงส่วนผสมการใช้พลังงานการผลิตของเสียและวิธีการจัดส่งผลิตภัณฑ์และเครื่องมือเว็บของ CarbonCloud จะจัดการส่วนที่เหลือ เช่นเดียวกับการใช้ข้อมูลเพื่อติดฉลากผลิตภัณฑ์ของตน ธุรกิจต่าง ๆ สามารถดูได้ว่าผลกระทบจากสภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหากเปลี่ยนซัพพลายเออร์ หรือไปใช้พลังงานหมุนเวียน เป็นต้น

CarbonCloud ได้ทำการประเมินผลิตภัณฑ์และแบรนด์หลายร้อยรายการรวมถึง Estrella, Nude และ Naturli โดยเห็นชัดว่าอุตสาหกรรมให้ความสนใจต่อการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

“อุตสาหกรรมกำลังเรียกร้องให้เกิดสิ่งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและมีรายละเอียดสูง โดยทำงานให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้” ไบรน์เกลสัน กล่าว

ในขณะนี้อุตสาหกรรมอาหารยังไม่มีแนวทางที่เป็นมาตรฐานในการคำนวณตัวเลขคาร์บอน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการให้ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันแก่ผู้บริโภค ซึ่งในอนาคตเราอาจจะได้เห็นพื้นฐานทั่วไปสำหรับวิธีคำนวณและวิธีการติดฉลากผลิตภัณฑ์ แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ แบรนด์ต่าง ๆ อาจต้องเริ่มแล้ววันนี้ เพราะสภาพอากาศที่เป็นอยู่นี้ไม่สามารถรอได้


ที่มา


เรื่องโดย