Kind Planet

“นากทะเล” สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสุดน่ารัก ที่ใกล้สูญพันธุ์!


เมื่อพูดถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลโดยใช้ปัจจัยของความน่ารักเป็นเกณฑ์วัด รับรองได้ว่า “นากทะเล” (Sea otters) จะต้องอยู่ในอันดับต้น ๆ ของรายการอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามอย่าปล่อยให้ธรรมชาติอันมีเสน่ห์และใบหน้าที่น่ารักของพวกมันมาทำให้คุณหวั่นไหว หรือไขว้เขวเสียจนอยากได้มาครอบครอง เพราะนากทะเลนั้นมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อความสมดุลของระบบนิเวศในท้องถิ่น


สำหรับประชากรนากทะเลที่เหลืออยู่ทั่วโลก รวมถึงแหล่งที่อยู่อาศัยของพวกมันเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์อย่างยิ่ง หากนากทะเลจะต้องอยู่รอดจากความท้าทายมากมายที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน

ผู้พิทักษ์สาหร่ายทะเล และควบคุมประชากรหอยเม่น

นากทะเล เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเลที่มีขนาดเล็กที่สุด อาศัยอยู่บริเวณแถบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพของระบบนิเวศ การเพิ่มจำนวนประชากรของนากทะเลไม่เพียงแต่จำเป็นสำหรับการดูแลให้สัตว์เหล่านี้ไม่สูญพันธุ์ แต่นากทะเลยังมีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาป่าสาหร่ายทะเลตามแนวชายฝั่งให้มีสุขภาพดี โดยการควบคุมประชากรหอยเม่นผ่านการปล้นสะดม (เมื่อป่าสาหร่ายทะเลมีสุขภาพดี ก็จะช่วยทำหน้าที่เก็บกักคาร์บอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ) ทั้งยังช่วยปกป้องที่พักพิงของเหล่าสาหร่ายทะเลและที่อยู่อาศัยโดยรอบของสัตว์อื่น ๆ จำนวนมาก อาทิ ปลา นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลอื่น ๆ

นากทะเลล่าหอย ปู เม่นทะเล หอยทาก และปลาขนาดเล็กอื่น ๆ ที่พบในมหาสมุทร วิธีที่พวกมันกินอาหารนั้นน่าทึ่งเป็นพิเศษเพราะพวกมันใช้เครื่องมืออย่างก้อนหิน เพื่อเปิดเปลือกของเหยื่อ

แต่น่าเสียดายที่สัตว์น่าทึ่งเหล่านี้กำลังอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ในช่วงตลอด 45 ปีที่ผ่านมา


แนวโน้มนี้เกิดจากการค้าขนสัตว์ครั้งประวัติศาสตร์ในอเมริกาเหนือ ซึ่งนักล่าส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปที่นากทะเล สำหรับการทำมูลค่าทางการค้า โดยเฉพาะการผลิตเป็นเครื่องประดับขนสัตว์ที่เป็นที่นิยมในยุโรป เนื่องจากชีวิตที่มีมหาสมุทรเป็นศูนย์กลางอย่างนากทะเลนั้น ทำให้พวกมันมีขนอันสุดแสนจะอบอุ่นและหนาที่สุดในโลก ด้วยเหตุนี้เองจึงนำไปสู่การลดจำนวนลงอย่างมาก และเข้าสู่ภาวะใกล้สูญพันธุ์ของประชากรนากทะเล ทั้งนี้อายุการอุ้มท้องของแม่นากทะเลอาจนานถึงหนึ่งปี และแม่นากสามารถให้กำเนิดลูกได้เพียงครั้งละหนึ่งหรือสองตัวเท่านั้น


ปัจจุบันมีนากทะเลเหลืออยู่ในป่าประมาณ 3,000 ตัว ทำให้พวกมันเสี่ยงต่อการใกล้สูญพันธุ์อย่างร้ายแรง โดยอัตราประชากรของนากทะเลลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการรุกล้ำและการสูญเสียที่อยู่ นอกจากนี้แหล่งน้ำที่มีมลพิษมากมักส่งผลให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นตายอย่างช้า ๆ นักวิจัยคาดว่าสิ่งที่คล้ายกันจะเกิดขึ้นกับ Elkhorn Slough ซึ่งเป็นปากแม่น้ำในแคลิฟอร์เนีย

การไหลบ่าทางการเกษตรในภูมิภาคนี้ ทำให้สาหร่ายมีจำนวนมากเกินไปซึ่งน่าจะส่งผลเสียต่อพืชทะเล เช่น หญ้าทะเล แต่พืชยังคงเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นผลมาจากความหวาดกลัว (เชิงบวก) ของนักวิจัย

เมื่อระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป

“การฟื้นตัวของนากทะเลแตกต่างจากการฟื้นตัวของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ เนื่องจากพวกมันมีผลกระทบอย่างมากต่อระบบนิเวศอย่างไม่เป็นสัดส่วน” Tim Tinker ผู้ร่วมวิจัยและนักชีววิทยาสัตว์ป่าแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาครูซกล่าว  “สำหรับสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ส่วนใหญ่ คุณแค่กังวลเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์ แต่กับนากทะเล คุณกำลังคิดว่าระบบนิเวศทั้งหมดจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อพวกมันฟื้นตัว” เขากล่าวเสริม

Brent Hughes นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยรัฐโซโนมา ได้รวบรวมจำนวนนากทะเลในภูมิภาคนี้ ด้วยข้อมูลการปกคลุมของหญ้าทะเลซึ่งเป็นหนึ่งในหลาย ๆ ความพยายามที่จะทำความเข้าใจว่าเหตุใดหญ้าทะเลจึงเติบโตจำนวนมาก “คุณไม่เห็นสิ่งนั้นบ่อยนักในระบบนิเวศ อาจเรียกได้ว่านั่นเป็นช่วงเวลาของความตื่นเต้นดีใจที่ได้ค้นพบ” Hughes กล่าว จากข้อมูลของเขาแสดงให้

เห็นว่าการปรากฏตัวของนากทะเลในบริเวณปากแม่น้ำทำให้มีหญ้าทะเลเพิ่มขึ้นมากกว่า 600% ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา


งานวิจัยของ Hughes ซึ่งตีพิมพ์ใน PNAS พบว่า การมีนากทะเลเปลี่ยนห่วงโซ่อาหารในภูมิภาคเป็นหลักปรากฏการณ์ทางนิเวศวิทยาที่เรียกว่า “น้ำตกห่วงโซ่อาหาร” (Trophic Cascade) ส่งผลให้ประชากรของผู้ล่าและเหยื่อในโครงสร้างระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างเช่น นากทะเลต้องกินหอยเม่น และปู ประมาณ 25-30% ของน้ำหนักตัวทุกวัน เพื่อรักษาอัตราการเผาผลาญที่สูง นั่นหมายความว่า มีปูจำนวนน้อยกว่าที่จะกินทากทะเลซึ่งสามารถกินสาหร่ายทั้งหมดที่เติบโตบนหญ้าทะเลได้ หรือความสัมพันธ์ระหว่างนากทะเลและระบบนิเวศบริเวณปากแม่น้ำเป็นแบบชีวภาพ โดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลจะหลบภัยบริเวณปากแม่น้ำเพื่อป้องกันตัวเองจากผู้ล่า เช่น ฉลามขาวยักษ์


แม้จะมีพระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเลของสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2515 และพระราชบัญญัติสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ในปี พ.ศ. 2520 ที่ช่วยคุ้มครอง และจากการคุ้มครองเหล่านี้ รวมถึงการทำงานของนักอนุรักษ์ทั่วโลก ทำให้กลุ่มประชากรนากทะเลสามารถล่าอาณานิคมคืนได้ 11 จาก 13 แหล่งที่อยู่เดิม ครองพื้นที่ประมาณ 75% ของพื้นที่ในประวัติศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตามนากทะเลยังคงถูกระบุว่าเป็นสัตว์ที่ “ใกล้สูญพันธุ์” โดย International Union for Conservation of Nature (IUCN) Red List ซึ่งเป็นรายการแสดงสถานะการอนุรักษ์พันธุ์พืชและสัตว์ที่ครอบคลุมมากที่สุดในโลก


“น้ำตกห่วงโซ่อาหาร” (Trophic Cascade) คือกระบวนการทางนิเวศวิทยา หมายถึงผลกระทบทางอ้อมระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกัน ที่ส่งผลต่อการควบคุมระบบนิเวศ โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นจากพฤติกรรมและการดำรงชีวิตผู้ล่าในห่วงโซ่อาหาร ได้ส่งผลให้เกิดการเพิ่มจำนวนของสัตว์ หรือพืช ที่เป็นเหยื่อของผู้ล่าอีกทีหนึ่ง ซึ่งเริ่มต้นจากยอดสุดของปีระมิด ก่อนจะค่อย ๆ ส่งผลกระทบเรื่อยมาจนถึงฐานล่างสุด


ที่มา


เรื่องโดย